เมนู

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยเป็นธรรมพึงเห็น


ก็ในข้อว่า โดยเป็นธรรมอันบัณฑิตพึงเห็น นี้ ความว่า อายตนะ
ทั้งหมดเหล่านั้นแหละ พึงเห็นโดยการยังไม่มาถึง (อนาคมนโต) และโดยการ
ไม่ออกไป (อนิคฺคมนโต).
จริงอยู่ อายตนะเหล่านั้นเมื่อก่อนแต่ผุดขึ้นย่อมมาจากที่ไหน ๆ ก็หาไม่
แม้หลังจากความสลายแล้วจะไปสู่ที่ไหน ๆ ก็หาไม่ โดยที่แท้ เมื่อก่อนแต่
ผุดขึ้น อายตนะเหล่านั้นยังไม่ได้ภาวะของตนโดยเฉพาะ หลังจากสลายไปก็มี
ภาวะของตนแตกหมดแล้ว เหตุที่มันเป็นไปได้ในเบื้องต้นเบื้องปลายและท่าม-
กลางก็เพราะปัจจัย เพราะฉะนั้น พึงเห็นอายตนะทั้งหลายโดยการยังไม่มาถึง
แต่โดยการไม่ออกไป.
อนึ่ง พึงเห็นอายตนะเหล่านี้ โดยความไม่เคลื่อนไป (นิรีหโต)
และไม่มีความพยายาม (อพฺยาปารโต) จริงอยู่ อายตนะทั้งหลายมีจักขุ
และรูปเป็นต้นจะได้มีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ชื่อว่า วิญญาณพึงเกิดขึ้น
เพราะพวกเราพบกัน ดังนี้ก็หาไม่ และอายตนะเหล่านั้นจะขวนขวายเพื่อความ
เกิดขึ้นแห่งวิญญาณโดยความเป็นทวาร โดยความเป็นวัตถุ หรือโดยความเป็น
อารมณ์ก็หาไม่ คือไม่ต้องขวนขวายพยาม โดยที่แท้ มันเป็นเรื่องธรรมดาเท่านั้น
ที่จักขุวิญญาณเป็นต้น จะเกิดขึ้น เพราะความที่อายตนะมีจักขุและรูปเป็นต้น
พบกัน เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงเห็นอายตนะทั้งหลายโดยความไม่เคลื่อนไป
และโดยความไม่มีความพยายาม.
อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงเห็นอายตนะภายในเหมือนเรือนว่าง เพราะ
เว้นจากความยั่งยืน จากความงาม จากสุข และจากอัตภาพ พึงเห็นอายตนะ
ภายนอกเหมือนพวกโจรปล้นชาวบ้าน เพราะกระทบอายตนะภายใน. ข้อนี้

สมดังพระดำรัสที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุถูกรูปที่ชอบใจและไม่ชอบใจ
กระทบ ดังนี้ บัณฑิตควรให้พิสดาร อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นอายตนะภายใน
เหมือนสัตว์ 6* ชนิด พึงเห็นอายตนะภายนอกเหมือนที่เที่ยวหากินของสัตว์
เหล่านั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในอายตนะนี้โดยเป็นธรรมพึงเห็นด้วยประการฉะนี้.

อธิบายอายตนะโดยไตรลักษณ์


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีความประสงค์จะทรงแสดงอาการแห่งอาย-
ตนะเหล่านั้นอันบัณฑิตพึงเห็นแจ้งตามความเป็นจริง จึงเริ่มคำมีอาทิว่า จกฺขุํ
อนิจฺจํ
(จักขุไม่เที่ยง) ดังนี้.
บรรดาอายตนะเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า จักขุ ชื่อว่า ไม่เที่ยง
ด้วยอรรถว่า มีแล้วหามีไม่ ดังนี้ก่อน. ชื่อว่า ความไม่เที่ยง ด้วยเหตุ 4
อย่าง แม้อื่นอีก คือ โดยมีความเกิดขึ้นและมีความเสื่อมไปเป็นที่สุด 1 โดย
ความแปรปรวนไป 1 โดยความเป็นของชั่วคราว 1 โดยปฏิเสธความเที่ยง 1.
จักขุนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า เป็นทุกข์ ด้วยอรรถว่า บีบคั้น อีกอย่างหนึ่ง
จักขุนี้เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ (ฐิติ) เมื่อตั้งอยู่ ย่อมลำบากด้วยชรา
ถึงชราแล้ว ย่อมแตกดับไปแน่แท้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะ
เหตุ เหล่านี้ คือ โดยความเป็นของบีบคั้นเนือง ๆ 1 โดยความเป็นของ
ทนได้ยาก 1 โดยเป็นวัตถุตั้งแห่งทุกข์ 1 โดยปฏิเสธความสุข 1.
อนึ่ง จักขุนั้น ชื่อว่า เป็นอนัตตา ด้วยอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ.
อีกอย่างหนึ่ง ความที่จักขุนั้นเป็นไปในอำนาจของใคร ๆ ในฐานะ 3 เหล่านี้
* สัตว์ 6 ชนิด คือ งู จระเข้ นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง